วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จริยธรรม เป็นปัญหาหลักของสังคมปัจจุบัน

          สังคมไทยมักมองจริยธรรมในสามลักษณะคือ มองว่าเป็นเรื่องนามธรรม เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของปัจเจกบุคคล และเน้นจริยธรรมเชิงลบ  ทำไมจึงไม่เคยมีรัฐบาลใดถือว่าปัญหาจริยธรรมเป็นปัญหาหลักของสังคมเหมือนปัญหาทางเศรษฐกิจการเมือง ถ้าไม่ใช่เพราะมองเรื่องจริยธรรมเป็นนามธรรมที่มองผลลัพธ์ที่เกิดแก่สังคมได้ไม่ชัดเจน และสังคมก็ยินดีที่จะเลือก "ประสิทธิภาพ" มากกว่าที่จะเลือก "ความซื่อสัตย์" 

ภาวะผู้นำ คุณธรรมและจริยธรรม สำหรับผู้บริหาร

                ชุมชน หน่วยงาน องค์กรระดับต่างๆ หรือแม้แต่ประเทศชาติ จำเป็นต้องมี “ผู้นำ(Leader)” ที่จะ
เป็นผู้ที่กำหนดทิศทางการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้ าหมาย(Objective and Goal) ของหน่วยงาน
หรือองค์กรของตน ผู้นำมีอยู่ในทุกระดับ ตั้งแต่สังคม หรือหน่วยงานขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่
หรือหน่วยงานระดับชาติ “ภาวะผู้นำ (Leadership) ” ถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและมีส่วนต่อ
ความสำเร็จหรือความล้มเหลว หากองค์กรใดมีผู้นำ (Leader) หรือผู้บริหารที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้
ความสามารถ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ฯลฯ องค์กร หรือหน่วยงานนั้น ก็จะสามารถแข่งขันกับผู้อื่น
และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้เป็นอย่างดี ในสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยกำลัง
เผชิญกับความท้าทายในการที่จะดำรงอยู่ในโลกท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงยุคโลกาภิวัตน์
(Globalization)


ที่มา

บทความ เรื่อง คุณธรรม จริยธรรม สำหรับข้าราชการ

           คุณธรรม จริยธรรม สำหรับข้าราชการ คือ การใช้หลักธรรมปฏิบัติในการบริหารงานทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับปฏิบัติการ และผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง หรือระดับสูง ให้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพสูง โดยการปกครองและบริหารที่ดี (Good Governance)
           การปกครองและบริหารที่ดี ตามหลักธรรมปฏิบัตินั้น ผู้บริหารงานต้องมี “ประมุขศิลป์” คือ คุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ดี (Good Leadership) อันเป็นคุณสมบัติที่ดี ที่สำคัญ ของหัวหน้าฝ่ายบริหาร ลงมาถึงหัวหน้างานทุกระดับให้สามารถปกครอง และบริหารองค์กรที่ตนรับผิดชอบ ให้ดำเนินไปถึงความ สำเร็จอย่างได้ผลดี มีประสิทธิภาพสูง และให้ถึงความเจริญ รุ่งเรือง และสันติสุข อย่างมั่นคง
คุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ดีนั้น เป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Arts) กล่าวคือ สามารถ ศึกษาวิเคราะห์วิจัยข้อมูลอย่างมีระบบ (Systematic Study) จากพฤติกรรมและวิธีการปกครองการบริหาร องค์กรให้สำเร็จด้วยดี มีประสิทธิภาพสูงมาแล้ว ประมวลขึ้นเป็นหลัก หรือ ทฤษฎี (Theory) ตามวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ (Scientific Method) สำหรับใช้เป็นแนวทาง การปฏิบัติงานของหัวหน้าฝ่ายบริหาร ให้เกิด ประโยชน์แก่การปกครองการบริหารที่ดี (Good Governance) กล่าวคือ ให้บรรลุผลสำเร็จด้วยดีมีประสิทธิ ภาพสูงได้ เพราะเหตุนั้น ประมุขศิลป์ คือ คุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ดี จึ่งชื่อว่า เป็นศาสตร์ (Science)